เคล็ดลับของการถ่ายภาพด้วยไฟแฟลช 5 ประการ ภาคที่ 4

on
Categories: pro's talk

ภาคที่ 4

                   ครั้งนี้เราจะมากล่าวถึงเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจลึกลงไปสักเล็กน้อย นั้นก็คือRatio หมายถึง อัตราส่วนของแสง ที่เรามักจะเรียกทับศัพท์ว่า เรโช ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆแต่ก็สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้ที่เพิ่งเข้าสู่กระบวนการถ่ายภาพในระดับแอดวานซ์อยู่ไม่น้อย ผมจึงนำความมาขยายให้ฟังเพิ่มเติมเรามาทดลองถ่ายภาพจริงกับ ไวร์เลสทริคเกอร์  2 in 1 ที่ใช้ไฟแฟลช 2 ตัวบนไวร์เลสตัวเดียวยิงแสงทะลุร่มโปร่งแสงเพื่อเป็นแสง main light (ไฟหลัก)และไฟแฟลชอีกตัวใช้เป็นไฟลบเงา แต่แนะนำให้เปิดไฟแฟลชทดลองถ่ายที่ละดวงดีกว่ายิงแสงสะท้อนขึ้นไปบนฝ้าเพดานสีขาวจากนั้นก็เริ่มเพิ่มกำลังของไฟแฟลช ที่ใช้ fill in (ลบเงา) แล้วค่อยๆเพิ่มไล่แสงให้สว่างขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อฝึกฝน เพียงแค่นี้คุณก็สร้างสรรค์แสงเงาของภาพได้อย่างสวยงามแล้วแต่ส่วนใหญ่หลายท่านที่นับหนึ่งทดลองถ่ายภาพ ถึงแม้จะมีเครื่องวัดแสงอยู่ในมือก็อาจจะสงสัยว่าทำไมเวลา ทดลองถ่ายภาพในอัตราส่วนของแสงที่แตกต่างกันที่ 1 สต๊อป ถึงไม่ค่อยจะมีเงาที่จัดจ้านเข้มปึกปัก เหมือนกับในภาพตัวอย่าง 

                  ในฉบับนี้ผมจึงถือโอกาสเฉลยความลับเสียก่อนว่า คนส่วนใหญ่มักจะใจร้อนที่จะวาง main light (ไฟหลัก) และ fill in light (ไฟลบเงา)  ไปพร้อมๆ
กันโดยไม่สังเกตุให้ดีว่าตำแหน่งที่วางไฟ main light นั้น ยังวางไปทางด้านข้างไม่มากพอ ที่จะทำให้มีเงาบนใบหน้า ในเมื่อบนใบหน้ายังไม่มีเงามันก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะใช้ไฟลบเงาเพิ่มขึ้นมา ดังนั้นหากเป็นไปได้ ในกรณีที่ท่านมีไฟสตูดิโอที่มีแสงไฟนำ ควรปิดไฟภายในห้องให้มืดสนิท แต่ถ้าไม่มีก็ต้องใช้ความพยายาม เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย จากนั้นให้ทดลองถ่ายภาพด้วยไฟ main light เพียงดวงเดียว ให้ได้แสงเงาบนใบหน้าได้เสียก่อน  แต่ในบางสถานะการณ์ ในสภาพห้องที่มีสีขาวหรือสีโทนสว่างๆ และไม่กว้างมากนักมันจะมีแสงที่สะท้อนกลับ ทำให้เราได้แสงเงาที่สะท้อนกลับได้พอดีแล้วก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่ม ไฟลบเงาก็ได้แต่ในภาพตัวอย่างนี้ทางทีมงานได้ทดลองถ่ายภาพกับไวร์เลสทริกเกอร์รุ่นPR 02A ซึ่งสามารถใส่ไฟแฟลชพร้อมกัน 2 ตัว  แต่เริ่มถ่ายด้วยแฟลชดวงที่ยิงทะลุร่มไปเพียงดวงเดียวแถมตั้งแผ่นโฟมแผ่นใหญ่สีดำบังไม่ให้แสงด้านข้างสะท้อนกลับเข้ามา ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมในเงามันถึงเข้มได้ใจขนาดนั้นหากนำเครื่องวัดแสงไปวัดค่า f.stop ก็จะให้ได้ว่า f.stop ในส่วนของเงาจะแตกต่างกับ f.stop ของ main light อยู่ถึง 5 สต๊อปจากนั้นก็ค่อยๆเริ่มเปิดไฟแฟลชเริ่มตั้งกำลังที่อ่อนสุดค่อยๆเพิ่มกำลังของไฟแฟลช ไล่ไปเรื่อยๆ ครั้งละ 1 สต๊อป จนความแตกต่างลดลงไปเหลือเพียง 1 สต๊อปจะเห็นได้ว่าที่ตำแหน่งแสงแตกต่างกันที่ 1 สต๊อป ภาพเริ่มขยับไปทางโอเว่อร์ขึ้นเล็กน้อยดังนั้นเราอาจจะขยับหน้ากล้องให้เล็กลงมาสัก .3 หรือ .5 สต๊อป เพื่อให้ภาพยังคง Normal เท่าเดิม เพราะแสงไฟลบเงาที่ไล่ตามเข้ามาใกล้แสงไฟหลัก ลองมาดูภาพตัวอย่างกันครับ

ติดตามเคล็ดลับของการใช้ไฟแฟลชอย่างมืออาชีพต่อไปในฉบับหน้าครับ ฉบับหน้าเป็น เคล็ดลับสุดท้ายแล้วนะครับผม

0